ศาลเจ้ากวางตุ้ง (กงจิ้งถัง) เป็นศาสนาสถานจีนในกรุงเทพมหานคร ที่ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจ เคารพสักการะ ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นย่านที่มีคนจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
การอพยพเข้ามาของคนจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1- 5 เป็นผลทำให้เกิดการสร้างวัด และศาลเจ้าจีนกระจายทั่วไป ชาวจีนที่อพยพเข้ามาส่วนใหญ่เดินทางมาจากมณฑลฝูเจี้ยน
และกวางตุ้ง ทางประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นเมืองที่พัฒนาขึ้นตามที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล (เรามักเรียกว่า ชาวจีนโพ้นทะเล) เมื่อไปอาศัยอยู่ที่ใดก็มักจะสร้างศาสนสถานที่ประกอบพิธีกรรมและบูชาเทพเจ้าของตนเสมอ สำหรับชาวจีนในประเทศไทยนั้นได้รับสิทธิเสรีภาพในการนับถือสาสนาปละประกอบพิธีกรรมของตนมาโดยตลอด
สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ ศาลเจ้าจีนในเมืองไทยไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสมาคมของชาวจีนด้วย เป็นทั้งสถานที่พบปะสังสรรค์ช่วยเหลือกันในด้านต่างๆ าลเจ้าบางแห่งได้รับบริจาคจากชาวจีนที่ประสบความสำเร็จทางการค้า จึงทำให้มีการพัฒนากิจกรรม เพื่อช่วยเหลือสาธารณประโยชน์ และสาธารณกุศลต่างๆ นอกเหนือจากนี้ยังมีการก่อตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนและสุสานสำหรับคนจีนด้วย ศาลเจ้ากวางตุ้ง มีประวัติความเป็นมายาวนาน สามารถย้อนหลังไปได้เมื่อประมาณ ค.ศ. 1881 ศาลเจ้าที่สร้างขึ้นตามความเชื่อ ทางพุทธศาสนานิกายมหายาน ผสมกับลัทธิบูชาเทพเจ้าดั้งเดิมแบบจีน จากหลักฐานบนแผ่นหินจารึก ซึ่งติดอยู่บนกำแพงรอบศาลเจ้า
ทางทิศตะวันตกเฉียงหนือ ระบุว่าศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2423 ตรงกับสมัยรัชการที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2543) โดยชาวจีนกลุ่มหนึ่งซึ่งอพยพมาจากมณฑลกวางตุ้ง (ภาษาจีน เรียกว่า กว่างเจ้า หรือ กว๋องสิว) เข้ามารวมตัวกันจัดตั้ง สมาคมอย่างไม่เป็นทางการขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2420 ตามประวัติของสมาคมกล่าวอธิบายไว้ว่า เดิมสมาคมมีลักษณะเป็น "ศาลากว๋องสิว" หรือ "บ้านพักของชาวกวางตุ้ง " ซึ่งเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ช่วยเหลือกัน ในครั้งนั้นได้มีการรวบรวมเงินประมาณ 17,000 บาท มาซื้อที่ดินในถนนเจริญกรุง แล้วจัดตั้งเป็นสมาคมการกุศลที่มีคณะกรรมการเป็นชาวจีนและได้ใช้ศาลเจ้า เป็นทั้งศูนย์กลาง
และที่ทำการของสมาคม ในการรวบรวมสิ่งของ และเงินไปบริจาคเพื่อการกุศลทุกๆ ปี เช่นเดียวกันกับสมาคมอื่น บรรดาสมาคมนั้น และศาลเจ้าจีนเหล่านี้จึงเป็นศูนย์กลางสำคัญในการถ่ายทอด วัฒนธรรมประเพณีแบบจีนที่สำคัญแห่งหนึ่ง
ในปี พ.ศ.2423 สมาคมกว๋องสิวเป็นผู้รวบรวมเงินบริจาค และดูแลการก่อสร้างศาลเจ้าเองทั้งหมด ในครั้งนั้นได้ส่งคนกลับไปยังเมืองจีน เพื่อซื้อวัสดุในการก่อสร้าง และศิลปกรรมการตกแต่งต่างๆ เช่น เสาหิน บันไดหิน สิงโตหิน มังกรดินเผาประดับกระเบื้องเคลือบ กระเบื้องมุงหลังคา ได้แก่ สลักเสาไม้ ป้ายคำโคลงกลอน และระฆัง เป็นต้น มาประกอบที่เมืองไทย โดยสร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรม ประเพณีโบราณของจีนทุกประการ ป้ายหน้าศาลเจ้าได้จารึกไว้ว่า "กงจิ้งถัง" แปลว่า หอเคารพภายในประดิษฐานรูปเคารพเทพเจ้าต่างๆ ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองจีน ชาวจีนเชื่อว่า เทพเจ้าเหล่านี้เป็นผู้บันดาลโชคลาภ ความมั่งคั่ง และความสมบูรณ์พูนสุขให้แก่ตนเองครอบครัว และบรรพบุรุษ เทพเจ้าเหล่านี้ ได้แก่
1 เทพเจ้ากวนอู (กว่างตี้) ชาวจีนเชื่อว่า เป็นเทพเจ้าตงฉิน ผู้มีความกล้าหาญเก่งกาจ ซื่อสัตย์ จงรักภักดี เป็นเทพแห่งชัยชนะ
2 เทพเจ้าขงจื้อ เป็นนักปราชญ์ของลัทธิขงจื้อ ผู้มีความรู้สูงส่งสอนให้คนกตัญญ ูและเคารพบรรพบุรุษ คำสอนของขงจื้อเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมจีนส่วนใหญ่
3 เทพเจ้าเหวินฉ่างตี้ชุน (เง็กเซียนฮ่องเต้) เป็นเทพเจ้าเกี่ยวกับราชา และความรู้ เป็นผู้คุ้มครองผู้ที่จะเข้าไปสอบจอหงวนเป็นขุนนางในราชสำนัก
4 เทพเจ้าลู่ปาน (อาจารย์หลูปาน) เป็นเทพเกี่ยวกับการก่อสร้างทางด้านสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงมาก
5 พระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตากรุณาตามความเชื่อแห่งพุทธศาสนานิกายมหายาน