-1. มาจากโรงเรียนเหม่งตั้ก และโรงเรียนสตรีควั้นตั้ก
-2. มาจากโรงเรียนหว่าหน่ามและโรงเรียนสตรีกีดฟ้อง
-----โรงเรียนทั้ง 2 ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 16-05-1932 จนถึงปี 1939 สถานการณ์ บ้านเมืองเกิดความไม่สงบ จึงจำเป็นต้องปิดกิจการโรงเรียน จากนั้น 11/10/1946 จึงเริ่มต้นเปิดกิจการขึ้นใหม่อีกครั้ง และเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนกว่างเจ้า |
 |
|
โรงเรียนเหม่งตั้ก |
สถานที่ตั้งโรงเรียน : คือสถานที่ตั้งโรงพยาบาลกว๋องสิวแผนกผดุงครรภ์ปัจจุบัน – (1914 ถึง 1932) ครั้นเมื่อเปิดการสอนเป็นทางการแล้ว ได้ให้ชื่อว่า โรงเรียนกว๋องสิวก้งหลับเหม่งตั้ก ค.ศ. 1915 ขยายโรงเรียนโดยก่อสร้างตึก 3 ชั้นเพิ่ม เปลี่ยนการรับนักเรียนเข้าเรียนเป็นชายหญิงรวมกัน เครื่องแบบนักเรียน แต่งกายด้วยชุดฝึกแบบทหารทั้งหมด ค.ศ. 1917 นักเรียนมีจำนวน 300 กว่าคน ในขณะนั้นถือว่า เป็นโรงเรียนจีนที่เด่นดังที่สุด ค.ศ. 1931 ยามสังคมเมืองไทยตกต่ำบ้านเมืองไม่สงบ เศรษฐกิจของชาวจีนโพ้นทะเลตกต่ำ ถึงขีดสุด โรงเรียนพลอยได้รับผลกระทบเช่นกัน ค่าใช้จ่ายของโรงเรียนไม่พอจ่าย กรรมาธิการโรงเรียน จึงมีมติให้รวมกับโรงเรียนสตรีควั้นตั้ก เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยคงชื่อ โรงเรียนเหม่งตั้กเท่านั้น จวบจน ปี ค.ศ. 1932 ถึงได้เปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนกว๋องสิว 1 |
โรงเรียนสตรีควั้นตั้ก |
สถานที่ตั้งโรงเรียน : ตั้งอยู่ตรงข้ามไปรษณีย์กลาง ตรอกสะพานยาว (1917 ถึง 1931) ค.ศ. 1917 ด้วยเหตุที่ชาว |
 |
|
จีนโพ้นทะเลรู้ซึ้งถึงความสำคัญของการศึกษา และในฐานะสตร ีคือ เพศผู้แม่ จำต้องมีการศึกษาให้ทันคน ฉะนั้นจึงได้ร่วมกันก่อตั้ง โรงเรียนสตรีควั้นตั้กขึ้น เพื่อตอบสนอง ค.ศ. 1927 ขยายตัวโรงเรียน ด้วยเหตุที่มีนักเรียนจำนวนเกิน 200 คน ห้องเรียนมีจำนวนไม่พอกับการรองรับ จึงได้ก่อสร้างห้องเรียนเพิ่มมากขึ้น (ขณะนั้นทั้งโรงเรียนสตรีควั้นตั้ก และ โรงเรียนเหม่งตั้ก ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นของสมาคมกว๋องสิว ) ค.ศ.1931 เศรษฐกิจของชาวจีนขณะนั้นลำบากมากขึ้นทุกวัน กรรมาธิการโรงเรียนจึงมีมติ ให้รวมกับโรงเรียนเหม่งตั้ก และขอให้ใช้ชื่อเป็นโรงเรียนกว๋องสิว 1 สถานที่ให้ใช้ที่โรงเรียนเหม่งตั้ก |
โรงเรียนหว่าหน่าม |
สถานที่ตั้งโรงเรียน : บางรัก ตรอกซุง ภายในศาลบรรพบุรุษ ตระกูลเหลี่ยง ค.ศ. 1925 ชาวจีนกวางตุ้งที่ฝักใฝ่ใน |
การศึกษา ได้ร่วมกันก่อตั้งโรงเรียนหว่าหน่ามขึ้น ขณะนั้น บางรักเป็นจุดศูนย์กลางของความเจริญ และลูกหลานของคนจีนก็มีมาก แต่จุดประสงค์ของโรงเรียนที่แท้จริง คือ การช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ไม่สามารถเข้าเรียน เพื่อการศึกษาได้ ค.ศ.1927 นักเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากสี่สิบห้าคน กลายมาเป็นสองร้อยกว่าคน ค.ศ. 1929 ด้วยเหตุที่ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหลายคน ได้ทยอยกันลาออกจากโรงเรียน จึงได้มอบหมายศูนย์บัญชาการก๊กหมิงตั๋ง กองพลที่ 9 เป็นผู้ดูแลแทน ค.ศ. 1930 ศูนย์บัญชาการกองพลที่ 9 ไม่สามารถรับผิดชอบต่อไปอีก จึงมอบคืนให้กับฝ่ายบริหารการศึกษา รับผิดชอบดูแลต่อ ค.ศ. 1932 หลังจากสมาคมรับคืนในความรับผิดชอบ และดูแลจากฝ่ายบริหารด้วย ขณะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำคณะกรรมาธิการโรงเรียน จึงมีมติให้รวมกับโรงเรียนสตรีกีดฟ้อง เป็น โรงเรียนกว๋องสิว 2 |
โรงเรียนสตรีกีดฟ้อง |
สถานที่ตั้งโรงเรียน : เริ่มตั้งอยู่ในถนนสุรวงศ์ ต่อมาได้ย้ายเข้าในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ค.ศ. 1926
|
 |
|
สตรีชาวจีนได้ร่วมใจกันก่อตั้งโรงเรียนสตรีกีดฟ้องขึ้น โดยเช่าบ้านพักแถบถนนสุรวงศ์ มาเปิดเป็นโรงเรียนสอน ค.ศ. 1928
2 ปีผ่าน โรงเรียนบริหารได้เจริญรุ่งโรจน์ เงินบริจาคหลั่งไหลเข้ามากมาย จนมีพอสำหรับก่อสร้างโรงเรียนด้วยตนเอง จึงได้ย้ายไปเช่าพื้นที่ ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ในพื้นที่เขตพญาไท มาสร้างโรงเรียน ค.ศ. 1932 ด้วยเศรษฐกิจขณะนั้นตกต่ำอย่างมาก จึงได้โอนการปกครองโรงเรียนให้กับสมาคมกว๋องสิวโดยได้รวมตัว โรงเรียนกับโรงเรียนหว่าหน่ามให้ชื่อเป็น โรงเรียนกว๋องสิว 2 |
โรงเรียนกว๋องสิว |
สถานที่ตั้งโรงเรียน : โรงเรียนกว๋องสิว 1 ตั้งอยู่ภายในสมาคมกว๋องสิว ค.ศ. 1932 หลังการสถาปนาโรงเรียน นัก
|
เรียนสองร้อยแปดสิบกว่าคน ค.ศ. 1933 นักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นสี่ร้อยกว่าคน จึงต้องขยายห้องเรียนเพิ่ม โดยก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นอีกหนึ่งชั้นบนตึกที่3 ของสมาคม และให้จัดเป็นห้องประชุม ส่วนห้องประชุมเดิมบนชั้น 2 ให้เปลี่ยนมาเป็นห้องเรียนแทน |
|
สถานที่ตั้งโรงเรียน : โรงเรียนกว๋องสิว 2 ตั้งอยู่ภายในศาลบรรพบุรุษตระกูลเหลี่ยง ตรอกซุง บางรักค.ศ. 1932 |
หลังการสถาปนาโรงเรียน มีนักเรียนสองร้อยกว่าคน ค.ศ. 1936นักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นหกร้อยกว่าคน ห้องเรียนมีจำนวนจำกัด ไม่สามารถรองรับได้จึงก่อสร้างห้องเรียนเป็นเรือนไม้ 2 ชั้นเพิ่มขึ้น ที่บริเวณสนามกีฬาด้านหลัง และต่อเติมห้องเรียนบริเวณทั้ง 2 ด้าน อีก 3 แถวยาว เมื่อรวม 2 โรงเรียนแล้ว มีนักเรียนรวมหนึ่งพันหนึ่งร้อยกว่าคน ทั้งนี้มีนักเรียนอนาถาจำนวนไม่น้อย สรุปว่า โรงเรียนกว๋องสิวถึงจะแบ่งเป็น 2 โรงเรียนก็ตามแต่ก็เป็นหนึ่ง ด้วยการบริหารของครูใหญ่ หว่องฉอแหย่ง โดยแต่ละโรงเรียนมีผู้รับผิดชอบแทน คือ กว๋องสิว 1 ศิษย์เก่าเหลี่ยงจันปิ้วและกว๋องสิว 2 ศิษย์เก่าหว่องยัดจี้ |
โรงเรียนกว่องเจ้า |
|
สถานที่ตั้งโรงเรียน : โรงเรียนกว๋องสิว ภายในสมาคมกว๋องสิว |
 |
|
11/10/1946 ภายหลังจากโรงเรียนกว๋องสิวเปิดทำการสอนแล้ว อาจารย์ใหญ่ หว่องโห่วหยิ่น ด้วยธุรกิจการค้าส่วนตัวได้ขยายตัว จึงต้องลาออกกลับสู่ประเทศอเมริกา ทางสมาคมกว๋องสิว จึงได้เชิญ ก๊ำเชกฟ๊ง เข้ารับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน 2/4/1948 ได้จดทะเบียนต่อกระทรวงศึกษาธิการโดยเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนกว่างเจ้า มิถุนายน 1948 อาจารย์ใหญ่ ก๊ำเชกฟ๊ง มีธุรกิจรัดตัวจึงขอลาออก กรรมการโรงเรียนมีมติให้เชิญ มหาบันทิต (มาเซาเฮ้ง) มาลี เลียงชัยกุล เข้ารับตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่คนที่ 3 |
ย้ายสถานศึกษาใหม่ |
|
ด้วยเหตุพื้นที่บริเวณภายในสมาคมกว๋องสิว มีไม่เพียงพอสำหรับนักเรียนจำนวนพันกว่าคน ลูกหลานชาวจีนอีก
|
มาก ไม่สามารถเข้าเรียนได้ กรรมการบริหารโรงเรียน จึงมติให้ย้ายสถานศึกษาไปยังที่ใหม่ ซึ่งเป็นสุสานเดิมที่ได้ปล่อยทิ้งร้างไว้อยู่ถนนสีลม 30/0/1954 จัดพิธีสั่งลาโรงเรียนเก่าภายในโรงเรียน 01/7/1954 สถานศึกษาใหม่เปิดทำการสอนทันที |
เปิดชั้นเรียนมัธยมศึกษา |
|
04/9/1964 ผู้อำนวยการโรงเรียน นางมาลี เลียงชัยกุล ได้ยื่นขออนุญาตเปิดทำการสอนชั้นมัธยมศึกษาต่อกระ
|
ทรวงศึกษาธิการใช้เวลาประมาณครึ่งปีจึงได้รับใบอนุญาต 17/5/1965 จัดงานพิธีเปิดทำการสอน โดยให้นับวันนี้เป็นวันเริ่มเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียน ค.ศ.1967 นักเรียนเพิ่มขึ้นเกินคาด จำต้องก่อสร้างห้องเรียนเพิ่มขึ้นค.ศ.1968 ตึกเรียนของชั้นมัธยมศึกษา สร้างเสร็จเรียบร้อน ค.ศ. 1972 โรงเรียนได้รับเกียรติจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนที่ได้รับรองวิทยาฐานะ |