 |
สมาคมกว๋องสิวแห่งประเทศไทย จัดตั้งมากว่า 140 ปี นับว่าเป็นกาลเวลาอันยาวนานรว่มกว่าศตวรรษ ทำให้เราอดที่จะรำลึกถึงบรรพบุรุษของเราไม่ได้ ที่ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาประเทศไทยตั้งรากฐานต่อตั้งกิจการแสนยากลำบาก จึงได้สร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ สังคม ช่วยให้เศรษฐกิจการค้าของประเทศไทยเจริญรุ่งโรจน์ก้าว หน้าไปสู่ความสำเร็จ |
|
|
ตามที่บันทึกไว้ในสมัยจักรพรรดิกว๊องโสย รัชวงศ์ชิง(แมนจู ใน ค.ศ.1877)ได้มีกลุ่มชาวจึนกวางตุ้งซึ่งเป็นผู้นำการค้า |
จ๊งชิ้วแฉวก รวบรวมจำนวนเงิน 17000 กว่าบาท ซื้อที่ดิน 1 แปลงบนถนนเจริญกรุง เริ่มก่อตั้ง เป็นสมาคมฯ การกุศลสำหรับชาวจีน
กวางตุ้งเพื่อพักผ่อนหย่อนใจและตั้งชื่อว่า "กว๋องสิวปิดโส่ย" ก่อตั้งมาหลายปี จึงสร้างสำเร็จ หลังจาก นั้นได้ทำกิจเช่น สุสานกวางตุ้ง |
|
โรงพยาบาล และโรงเรียน นอกจากงานหลัก 3 อย่างนี้ ยังได้จัดตั้ง "กรมคุ้มครองช่วย เหลือ ความปลอดภัยจากสังคม" และยังเป็นผู้ใหญ่ ช่วยไกล่เกลี่ยเรื่อง ทะเลาะวิวาทระหว่างชาวจีนกวางตุ้ง |
|
“กว๋องสิวปิดโส่ย” ตอนเริ่มจัดตั้งใหม่ๆ ผู้ริเริ่มตั้งมีเพียง 10 ท่านเท่านั้น เมื่อแบ่งตำแหน่งเมื่อแบ่งตำแหน่งหน้าที่มีเพียง 2 ท่าน กิจทั่วโลกวิกฤติการ |
เงินทางกว๋องสิวปิดโส่ย ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ดังนั้น จึงยกเลิกการมีผู้จัดการ ในปี 1930 เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการในปี 1931 ฤดูใบไม้ร่วง มีการแก้ไขเศรษฐกิจ จึงได้จัดตั้ง การวางแผนโรงเรียนและโรงพยาบาล ยังไม่ สมบูรณ์ รวมทั้ง “กว๋องสิวปิดโส่ย” ก็มีระบบวางแผนไม่เข้มแข็งเป็นเหตุให้การเงินฝืดเคือง ดังนั้นจึงมีมติยกเลิก “คณะกรรมการที่ ปรึกษาแก้ไขเศรษฐกิจโดยตรงของกว๋องสิว” ให้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะกรรมการปรับปรุงโรงเรียนเหม่งตั๊ก ควั้นตั๊ก และโรงพยาบาล” |
|
|
เมื่อจัดตั้ง “คณะกรรมการปรับปรุงโรงเรียนเหม่งตั๊ก ควั้นตั๊ก และโรงพยาบาล” เสร็จแล้วคณะกรรม จึงได้มีการปรับปรุงเป็น |
 |
การใหญ่ร่างโครงการ “หลักการจัดตั้งสำนักงานกลางของโรงเรียนกว๋องสิวก๊งหอกและโรงพยาบาล” เมื่ออนุมัติแล้ว ก็ได้คัดเลือก คณะกรรมการจัดการและคณะกรรมการกำกับดูแล รุ่นที่ 1 โดยมี นายมาบูลกุล(มาหลับขวั่น) เป็นนายกและแบ่งแยกออก เป็นแผนกเหรัญญิก แผนกการศึกษา แผนกโรงพยาบาล แผนกใฝ่หา แผนกโฆษณา แผนกตรวจสอบ แผนกสุสานและสวัสดิการ ของชาวกวางตุ้ง สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข คือ |
|
1. รวมโรงเรียนเหม่งตั๊ก ควั้นตั๊ก ชายหญิงทั้ง 2 โรงเรียนเป็นโรงเรียนกว๋องสิวก๊งหอกที่ 1 ตั้งอยู่ในสมาคมฯถนนเจริญกรุง |
และหารือกับเจ้าของโรงเรียนหว่าหน่ำ โรงเรียนกิดฟ้อง ซึ่งเป็นชายหญิงทั้ง 2 โรงเรียนรวมเข้าเป็นโรงเรียนกว๋องสิวก๊งหอกที่ 2 ตั้งอยู่ที่ตรอกซุง ถนนบางรัก ดังนั้น ในวันที่ 16 มิถุนายน 1932 ได้ทำการเปิดสอนเป็นโรงเรียนประถมศึกษา |
|
111111112. เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาล "สถานอนามัยกว๋องสิว" ให้เป็น"โรงพยาบาลกว๋องสิว" แบ่งออกเป็น 4 แผนก โดยมีแผนกตรวจรักษา แผนกจ่ายยา แผนกห้องผู้ป่วย แผนกฝากครรภ์ |
111111113. ปรับปรุงสุสานสีลม และก่อสร้างสุสานใหม่ที่ถนนจันทน์ ตั้งชื่อว่า “สุสานจีนกวางตุ้ง” เสร็จสิ้นในวันที่ 31 มีนาคม 1935 เนื่องจากสมัยกว๋องสิว ปิดโส่ย ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นทางการรัฐบาลจึงไม่ยอมรับเป็นสมาคมฯ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้การดำเนินกิจการต่างๆ ไม่สะดวกเท่าที่ควร ดังนั้นปี ค.ศ. 1936 ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นทางการว่า “สมาคมกว๋องสิว” และได้รับใบอนุญาตในวันที่ 1 พฤษภาคม 1936 หลังจากนั้น คณะกรรมการได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบบัญญัติข้อบังคับ และวัตถุประสงค์ให้เป็น “โครงการประกอบ กิจการดำเนินการสมาคมกว๋องสิว” |
|
 |
วันที่ 7 กรกฎาคม 1939 ประเทศจีนได้ทำสงครามกับประเทศญี่ปุ่น เรื่อง“สะพานโหล่วเค้าขิ่ว”ในปีเดียวกันนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้สั่งให้ยึดใบอนุญาตตั้งโรงเรียนกว๋องสิวก๊งหอก ที่ 1 กลับคืนไป และวันที่ 11 ตุลาคม ได้สั่งให้โรงเรียนกว๋องสิวก๊งหอก ที่ 2 หยุดทำการสอน จนถึงวันที่ 14 สิงหาคม 1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง ประเทศไทยและประเทศจีนได้มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน ชาวจีนในประเทศไทยจึงได้เปิดตั้งโรงเรียน สอนภาษาจีนเอกชนขี้นใหม่ วันที่ 11 ตุลาคม 1946 โรงเรียนกว๋องสิวก๊งหอกก็ได้ เปิดทำการสอนในสมาคม กว๋องสิวและได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนกว่างเจ้า ชื่อภาษาอังกฤษ เขียนว่า KWONG CHOW SCHOOL เมื่อครูใหญ่จีนก๊ำแฉกฟ้ง ลาออก ทางสมาคมฯ ได้เรียนเชิญอาจารย์มาลี เลียงชัยกุล (มาเซาเฮ้งห่าว แจ๋ง) มารับตำแหน่ง เป็นผู้จัดการและครูใหญ่จีน หลายเดือนผ่านไป จากนักเรียนสองร้อยกว่าคน เพิ่มเป็นเจ็ดร้อยกว่าคน ทำให้ปัญหาเรื่อง |
อาคารเรียนไม่เพียงพอ ปี ค.ศ. 1954 จึงได้คิดที่จะขยายโรงเรียนย้ายไปตั้งบนถนนสีลม และได้รับการสนับสนุนร่วมใจร่วมแรงจากชาวจีน และคณะกรรมการสมาคมฯ ทุกท่าน บริจาคค่าก่อสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น รวม 24 ห้องเรียนในเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ แต่สมัยนั้น การเรียนภาษา จีนเป็นค่านิยมส่งเสริมจากชาวจีน ดังนั้นอาคารเรียนที่สร้างใหม่ก็ยังไม่สามารถรับนักเรียนที่ล้นห้อง ปี ค.ศ. 1957 จึงได้สร้างอาคารเรียนตึก 2 อีก 1 หลังแต่เมื่อปี ค.ศ. 1960 กระทรวงศึกษาธิการได้วางระดับการเรียนชั้นประถมศึกษา ถึงประถมปีที่ 7 ส่วนโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนให้เปิดสอนได้แค่ประถมปีที่ 4 เท่านั้น ดังนั้น ผู้ปกครองเกรงว่า ถ้าเรียนโรงเรียนสอนภาษาจีน จะลำบากต่อการย้ายโรงเรียน จึงได้ลาออกจากโรงเรียนกันเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในปี ค.ศ.1966 อาจารย์มาลี เลียงชัยกุล ได้ยื่นจดหมายถึงรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยม ในเนื้อที่ 4 ไร่ ซึ่งแยกจากพื้นที่โรงเรียนกว่างเจ้า ปี ค.ศ. 1966 รัฐมนตรีได้มีเอกสารตอบรับ อนุมัติให้เปิดชั้นมัธยมได้ ดังนั้น อาจารย์มาลี เลียงชัยกุล จึงได้จดทะเบียนตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนสว่างวัฒนา ภาษาอังกฤษเขียนเป็น SAWANG ATTANA MIDDLE SCHOOLโดยให้อาจารย์มาลี เลียงชัยกุลเป็นผู้ถือใบอนุญาต และผู้จัดการ นายธวัช เป็นอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ จรูญศรี (อึ่งขั่นแยง) เป็นรองผู้จัดการ |
|
|
เนื่องจากสมาชิกชาวกวางตุ้ง ศิษย์เก่ากว๋องสิว และเหล่าคณาจารย์มีความประสงค์ให้ใช้สถานที่โรงเรียนกว่างเจ้า |
 |
ก่อสร้างหอประชุม 1 หลัง เมื่อผ่านการประชุมใหญ่สามัญสมาชิกลงมติเห็นด้วยเพื่อเป็นสถานที่ ต้อนรับงานฉลองสมาคมกว๋องสิวก่อตั้งครบรอบ 90 ปี ดังนั้น ชาวจีนทุกฝ่ายได้รวบรวมเงินบริจาคเป็นจำนวน 1ล้านกว่าบาท เมื่อผ่านการประมูล บริษัท กรุงเทพก่อสร้าง จำกัด ซึ่งประมูลได้ในวงเงิน 1,295,000 บาท และได้สร้างเสร็จในวันที่ 6 มีนาคม 1968 วันที่ 5 ธันวาคม 1969ได้มีการทำพิธีเปิดอาคารเรียนโรงเรียนสว่างวัฒนา และพร้อมกับฉลองครบรอบ 23 ปี ของการจัดตั้งโรงเรียนกว่างเจ้า ที่หอประชุม |
|
เนื่องจากสมาคมกว๋องสิว มีการวางแผนอนาคตไกล จึงได้ขยายหอประชุมเดิมให้มีเนื้อที่เพิ่มมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1977 |
ได้มีการทำพิธีต่อเติมหอประชุม เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 1979 และได้ตั้งชื่อว่า “หอประชุม 100 ปี” ซึ่งหมายความว่า สมาคมกว๋องสิว ได้จัดตั้งมาเป็นเวลา 100 ปีแล้ว วันพิธีเปิดงาน นายสุรีย์ อัษฎาธร นายกสมาคมฯ เป็นประธาน และได้เรียนเชิญ ฯพณฯ หลิว จื่อ โพ เอกอัคร ราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และคณะกรรมการของสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลทุกฝ่าย นักข่าว มาร่วมงานฉลอง |
|
|
ปี ค.ศ. 1979 คณะกรรมการสมาคมกว๋องสิว ได้ลงมติเห็นด้วยกับอาจารย์มาลี เลียงชัยกุลที่เสนอให้ยกเลิกโครงการตั้งโรงเรียน เตรียมอุดม กาลเวลาผ่านมา |
20 กว่าปีในวันนี้ ทางโรงเรียนได้ตั้ง “กองทุนมูลนิธิการศึกษาโรงเรียนกว่างเจ้า” รวบรวมเงินบริจาคมาประมาณ 10 กว่าล้านบาท แต่ละปีมีการมอบทุนการศึกษา หรือทุนเรียนดีให้กับลูกหลานสมาชิกชาวจีนกวางตุ้ง และศิษย์เก่า ที่ขาดทุนทรัพย์ เนื่องจากโรงเรียน ตั้งอยู่ที่ถนนสีลม มีพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ บริเวณโรงเรียนกว้างใหญ่ และเงียบสงบ อากาศสดใส คมนาคมสะดวก ประกอบกับคณาจารย์ทั้งหลายมีประสบการณ์ด้านการสอน และได้เชิญคุณครูต่างประเทศมาสอนภาษาจีน และภาษาอังกฤษ มีสื่อการสอนที่ทันสมัย เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องซาวน์แล็ป แต่จะตั้งเป็นโรงเรียนพาณิชยการ เนื่องจากนักเรียนที่เรียนจบ ม.ศ. 3 แต่ละปีครอบครัวมีปัญหาทางด้านการ |
|
 |
เงินจำนวนมาก และความต้องการของวงการค้าสมัยนั้นได้หันไปเรียนพานิชย์กันมากมาย เมื่อปี ค.ศ. 1980 จากการนำของคณะกรรมการ ภายใน 1 ปี ก็สามารถรวบรวมเงินได้ 5 ล้านกว่าบาท เพื่อเปิดสอนวิชาพาณิชย์ |
|
ปี ค.ศ. 2000 คณะกรรมการสมาคมฯ สมัยที่ 33 ได้ยื่นขอเปลี่ยนชื่อ “สมาคมกว๋องสิว” “KWONG |
SIEW ASSOCIATION” เป็น “KWONG SIEW ASSOCIATION OF THAILAND” และได้รับใบอนุญาติจาก ศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย |
|
ปี ค.ศ.2001 สมาคมกว๋องสิวแห่งประเทศไทย สมัยที่ 33 โดยมีนายหงชาด เอื้อจงประสิทธิ์(อึ่งก๊ำห่ง) ได้วางแผน 6 โครงการใหญ่ คือ |
|
|
|
|
1. เนื่องจากอาคารสมาคมกว๋องสิวฯ ก่อสร้างมาเป็นเวลากว่า 1 ศตวรรษ ควรต่อการซ่อมแซมบนหลังคา และสิ่งแกะสลัก จิตรกรรมภาพวาดบนผนัง |
 |
|
2. จัดงานสัมพันธไมตรีชาวกว๋องสิวทั่วประเทศไทย ครั้งที่ 1 |
|
3. ร่วมกันดูแล และปรับปรุง สร้างเสริม การเรียนการสอน และสถานที่ของโรงเรียนกว่างเจ้าให้บรรลุเป้าหมายตามกระทรวง ศึกษาธิการกำหนดไว้ ให้เป็นโรงเรียนมาตรฐาน ภายใน 2 ปี |
|
4. จัดตั้งสำนักงานติดต่อทางจังหวัด (ถ้ายังไม่มี)เพื่อให้ชาวจีนกวางตุ้งมีการสื่อสารติดต่อกับสมาคม กว๋องสิวแห่งประเทศไทย |
|
5. โครงการจัดการและวางแผน แผนกสุสานสันติเวศฆ์กว๋องสิว จ. นครปฐม เพื่อขยายกิจการขายให้บุคคลภายนอกด้วย |
|
6. โครงการซ่อมแซมโรงพยาบาล แผนกรักษา เพื่อแก้ไขเรื่องค่าใช้จ่ายสำนักงาน และเงินใช้การรับรองของสมาคม ท่านนายกได้ ริเริ่มบริจาคเงินบำรุงพิเศษ 1 ล้านบาท และเมื่อมีการซ่อมแซมอาคารสมาคมฯ ท่านก็ได้เป็นผู้ริเริ่มบริจาคอีก 1 ล้านบาท ท่านจึงเป็นผู้นำคณะ และตัวอย่างที่ดีของชาวจีนกวางตุ้ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการ สมาชิกชาวกวางตุ้ง ดังนั้น ทุกโครงการจึงได้บรรลุเป้าหมาย เสร็จสิ้นภายใน 2 ปี |
|
 |
|
เนื่องจาก โรงเรียนสว่างวัฒนา มีนักเรียนจำนวนน้อย ในปี ค.ศ. 1999 คณะกรรมการสมัยที่ 32 ได้ ผ่านการลงมติให้รวมโรงเรียน |
สว่างวัฒนา กับโรงเรียนกว่างเจ้า ให้เป็นโรงเรียนแห่งเดียวกัน โดยใช้ชื่อ “โรงเรียนกว่างเจ้า”รับนักเรียนชั้นประถม และอนุบาล โดยมีคุณรัชนี ศรีศิลป อุปนายกซึ่งเป็นผู้ถือใบอนุญาตโรงเรียนกว่างเจ้าแทนสมาคมฯ ในปี ค.ศ. 2000 ได้นำคณะครูสอนภาษาจีน ไปดูงานที่โรงเรียนสิ่งหมิน จ.พิษณุโลก ท่านได้ทำการปรับปรุงอาคารเรียน ปูพื้นห้องเรียน ระเบียง และโรงอาหารใหม่ ซื้อโต๊ะอาหาร เก้าอี้ไวท์ บอร์ด ทำสวนสนุกสำหรับอนุบาล ซื้อของเล่นชิ้นใหญ่ๆ ทำจากต่างประเทศ เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนยังได้ปูพื้นด้วย แผ่นอิฐที่ทำด้วยยาง และใช้ปูนจำลองสัตว์ต่างๆ โชว์ในสวนใช้วงเงิน 380,000 บาท สร้างสระว่ายน้ำ สำหรับเด็กอนุบาล การปรับปรุง สถานที่โรงเรียนครั้งนี้ใช้งบประมาณ 4 ล้านบาทในเงินของท่านเอง แต่สิ่งที่น่าประทับใจ คือ |
|
ท่านได้สละเวลาอันมีค่าของท่าน มาดูแลบริหารโรงเรียนทุกวัน เพราะฉะนั้น ในปี ค.ศ. 2001 ทางโรงอาหารได้รับรางวัลเกียรติบัตรความสะอาดอนามัย จากกรุงเทพมหานคร ในปีเดียวกันทางโรงเรียนกว่างเจ้า ยังได้รับประกาศเกียรติบัตรเป็นโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนที่ได้รับเป็นโรงเรียนมาตรฐาน ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน ของคณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบจากกระทรวงศึกษาธิการ และท่านได้มอบเงิน 200,000 กว่าบาท ให้เป็นรางวัลกับคุณครูและคนงานที่ได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับงานมาตรฐานของโรงเรียน |
|
|
วันที่ 8 กันยายน 2001 สมาคมฯ ได้จัดพิธีฉลองรับใบเกียรติบัตรรับรองมาตรฐานโรงเรียนกว่างเจ้า ได้เรียนเชิญ คุณเซี่ย ฟู เกิน อุปทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน |
ประจำประเทศไทย และภริยา คุณเหอ สู ฉิน คุณจาง เซียง เหวิน ภริยาท่านเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย คุณนลินี ไกรคุณาศัย รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน คุณศิริลักษณ์ มโนรมย์ ผู้อำนวยการกอง โรงเรียนนโยบายพิเศษ ดร.อารมณ์ จินดาพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เจ้าหน้าที่หัวหน้าแผนกฝ่ายภาษาจีน และไทย คุณสิริธร เบญจางคประเสริฐ คุณวลัย ดิลกวัฒนา พลตำรวจตรี โสทร วนิชเสถียร รองผู้บัญชาการ กองตรวจคนเข้าเมือง และคณะชมรมผู้นำ 9 สมาคมฯ คณะกรรมการสมาคมโรงเรียนสอนภาษา จีนเอกชน ครูใหญ่ โรงเรียนต่างๆ คณะกรรมการสมาคมกว๋องสิวฯ คณะกรรมการแผนกสตรีกว๋องสิว สมาคมศิษย์เก่ากว๋องสิว และผู้ปกครองนักเรียนมา ร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง |
|
การพัฒนาสุสานของสมาคมกว๋องสิวฯ ก็ได้ผลงานดังที่หวังไว้ เนื่องจากตรงข้ามสุสานกวางตุ้งที่ตรอก จันทน์ เดิมเป็นผืนดินที่รกร้าง มีเนื้อที่ประมาณ 100 |
กว่าตารางวา คณะกรรมการเกรงว่า พื้นที่นี้จะถูกผู้อื่นบุกรุก กรรมการจึงลงมติสร้างเป็น “ศาลเจ้าตระกูล 100 แซ่” ภายหลังตั้งชื่อใหม่ว่า “หอรำลึกบรรพบุรุษ” ภาษาจีน อ่านว่า “เหวงซี้ถ่อง” งานก่อสร้างสำเร็จ เมื่อปี ค.ศ.1973 และได้ทำพิธีเปิดใช้การ หลังจาก 29 ปี มาวันนี้ เพื่อความสะอาด สวยงาม ทางสมาคมฯ ได้ก่อสร้างกำแพงล้อมรอบสถานที่นี้ไว้ด้วย |
|
 |
|
เนื่องจากทางสุสานกวางตุ้ง ตรอกจันทน์ มีเนื้อที่จำกัดเพียง 26 ไร่เศษ ดังนั้น เมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ นายวงค์ ว่องปรีชา |
สมัยที่ท่านเป็น นายกสมาคมฯ ได้ประชุมคณะกรรมการ เพื่อหาซื้อที่ดินปริมณฑลเป็นสุสานใหม่และในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1964 คณะกรรมการได้ลงมติซื้อที่ดิน 140 กว่าไร่ ที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ห่างจากกรุงเทพฯ 78 กิโลเมตร ในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ.1967 ได้ทำพิธีวางศิลาจารึกก่อสร้างป้ายประตูทางเข้า ศาลาสุขสันต์ และที่ทำการสำนักงาน กาลเวลาผ่านไป ในปี ค.ศ. 1995 นายวิเชียร ตั้งสมบัติวิสิทธิ์ นายก เป็นผู้ริเริ่มบริจาคเงิน 1 ล้านบาท และด้วยแรงหนุนของคณะกรรมการแต่ละท่าน สมาชิกชาวจีนกวางตุ้ง |
|
ต่อมา ปี ค.ศ.1998 สุสานกวางตุ้ง ตรอกจันทน์ ได้ซ่อมแซมถนนเป็นคอนกรีต และสร้างกำแพงประตูทางเข้าใหม่ ส่วนสุสานสันติเวศฆ์ |
ทั้งหลาย ได้รวบรวมเงินบริจาคทั้งหมด 15,260,000 บาท ซื้อที่ดินติดกับสุสานสันติเวศฆ์กว๋องสิว จ.นครปฐม อีก 53 ไร่เศษ เพื่อแก้ไขปัญหา ในอนาคต |
|
จ.นครปฐม ก็ขยายถนนเป็นคอนกรีตและวางท่อระบายน้ำ เดือนธันวาคม ปี ค.ศ.2000 คณะกรรมการได้ลงมติเปิดขายให้คนภายนอกเข้าฝังได้ ปี ค.ศ.2001 ขุดบ่อน้ำกว้างประมาณ 6 ไร่ เพื่อเปลี่ยนแปลงฮวงซุ้ยให้เป็นศิริมงคลมากขึ้น และใช้ดินที่ขุดขึ้นมาไปถมพื้นดินที่ต่ำ เป็นการได้เปรียบเสมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ทางด้านโรงพยาบาลกว๋องสิว ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1903 ในปี ค.ศ.1932 รัฐบาลได้ออกกฎข้อบังคับ โรงพยาบาลจะต้องจัดอยู่ในระบบ แพทย์แผนปัจจุบัน ดังนั้น สมัยนายมา บูลกุล (มา หนับ ขวั่น) เป็นนายก ท่านได้ไปจดทะเบียนที่กระทรวงสาธารณสุขให้เป็นโรงพยาบาลมูลนิธิที่ถูกต้องแห่งหนึ่ง รับคนไข้ที่รักษา หรือพักรักษา หรือทำการผ่าตัด จะไม่มีการแบ่งแยกชนชาติ หรือชั้นวรรณะ คนไข้ทุกคนได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี |
|
ในวันที่ 14 สิงหาคม 1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง มีชาวจีนที่ถูกญี่ปุ่นจับเป็นเชลยศึกจากทุกทิศทุกทางเข้ามาขอความช่วยเหลือ |
 |
จากสมาคมกว๋องสิว ทางสมาคมฯ ก็ได้จัดตั้งทีมงาน “แผนกรับ และให้การช่วยเหลือพี่น้องชาวจีนในประเทศไทย” ขึ้นมาให้การดูแล และรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ สมัยนั้น มีชาวจีนเชลยศึกรวม 2,081 คน ในปี ค.ศ.1946-1947 มีชาวจีนนั่งเรือข้ามทะเลอพยพ เข้ามาในประเทศไทยอีก ส่วนมากจะนำ โรคอหิวาตกโรค โรคริดสีดวงตา ทาง โรงพยาบาลได้ช่วยรักษาให้หายจากโรคเป็นจำนวน หลายพันคน ทางโรงพยาบาล ยังได้จัดตั้งแผนกอบรม ฝึกสอนนางพยาบาล หลักสูตร 3 ปี สอนทั้ง ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติถึงปี ค.ศ.1978 ทางโรงพยาบาลได้ฝึกอบรมนางพยาบาลมา 8 รุ่น ตามเวลาที่ก้าวสู่ยุควิทยาศาสตร์เจริญ ปัจจุบัน ถึงปี ค.ศ.1978 ทางโรงพยาบาลได้ฝึกอบรมนางพยาบาลมา 8 รุ่น ตามเวลาที่ก้าวสู่ยุควิทยาศาสตร์เจริญ ปัจจุบัน ทางโรงพยาบาลได้ก้าวหน้าทันสมัย ไม่ว่าจะเทคนิค การแพทย์ นางพยาบาล อุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ ฯลฯ แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงมาก ทางโรงพยาบาลขาดทุนมาตลอด ในปี ค.ศ.1986 คณะกรรมการ จึงได้หาวิธีจัดตั้ง“กองทุนมูลนิธิ โรงพยาบาล” โดยมีนายสุรีย์ อัษฎาธร นายกสมัยนั้นเป็นผู้นำบริจาคเงิน 3 ล้านบาท นายปิติ พูนแสงสถิต อุปนายกบริจาคเงิน 1 ล้านบาท เนื่องจากได้รับการสนับสนุนบริจาคทุกด้าน ปัจจุบัน ปี ค.ศ.2001 ทางโรงพยาบาลได้สะสมเงินกองทุนเกิน 17 ล้านบาท จึงได้ทำการช่วยเหลือรักษาคนไข้มาตลอด |
|
 |
|
ปี ค.ศ.1994 นายวิเชียร ตั้งสมบัติวิสิทธิ์ นายก ได้ปรับปรุงสมาคมฯ ทุกแผนก และได้ริเริ่มจัดทีมงานแพทย์เคลื่อนที่รักษาคน |
ไข้ตามสถานที่ต่างๆ ทุกเดือน แล้วยังมีการแจกซีอิ้วตราเด็กสมบูรณ์ ของท่านให้คนไข้ที่มารับการรักษา การกุศลที่จัดขึ้นมานี้ ถือได้ว่า เป็นการสร้างประวัติในสังคม ที่ได้ให้การช่วยเหลือคนไข้ผู้ยากไร้ถึงที่ และได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกชาวกวางตุ้งพร้อมกับเงิน บริจาคเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย |
|
สิ้นปี ค.ศ.2000 โรงพยาบาลทำการซ่อมแซมทุกแผนก โดยมี นายเสียว หวังวีรวงศ์ อุปนายกเป็นผู้วางแผน และดูแลกำกับการครั้งนี้ |
เสร็จงานเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2001 การ ปรับปรุงภายในอาคาร และทาสีทั้งตึกโรงพยาบาล จึงเสมือนกับได้ใส่เสื้อชุดใหม่ อย่างสวยสดงดงาม สมาคมฯ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่ม |
ชาวจีนกวางตุ้งต่างจังหวัด ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1965 สมาคมกว๋องสิว ได้จัดคณะขึ้น เหนือไปเยี่ยมเยียนชาวจีนกวางตุ้ง ที่ อ.ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ จ. พิษณุโลก จ. ลำปาง และ จ. เชียงใหม่ โดยมีนายวิศิษฐ์ กุลวรเศรษฐ์ เป็นหัวหน้าคณะในปีเดียวกัน เดือนสิงหาคม คณะกรรมการสมาคมกว๋องสิวได้จัดคณะลงใต้ เพื่อเยือนชาวจีนกวางตุ้งที่ อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง จ.ภูเก็ต จ.พัทลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อ.เบตง จ.ยะลา จ.ปัตตานี รวม 11 แห่ง นายวิศิษฐ์ กุลวรเศรษฐ์ ผู้นำคณะ ก็ได้นำคณะลงใต้ การเยือนทุกสถานที่ได้รับการต้อนรับอย่างคึกคัก และสมัยนั้น ทางสมาคมฯ กำลังวางโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยม สร้างสุสานใหม่และโครงการซ่อมแซมโรงพยาบาล เป็นโครงการใหญ่ แต่ก็ได้รับการสนับสนุน จากชาวจีนภาคเหนือ และภาคใต้ ด้วยความยินดี ต่างก็บริจาคทรัพย์สิน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนี้ ดังนั้น การเยือนชาวจีนกวางตุ้ง 2 ครั้งนี้ ถือว่า ความผูกพันระหว่างชาวจีนกวางตุ้ง และสมาคมกว๋องสิวได้สำเร็จอย่างดีเยี่ยม |
|
|
เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1995 และเดือนมีนาคม ค.ศ. 1996 นายวิเชียร ตั้งสมบัติวิสิทธิ์ นายกสมาคมกว๋องสิว ก็ได้นำคณะสมาคมฯ |
 |
ไปเยือนชาวจีนกวางตุ้งทางภาคใต้ ภาคเหนือ และปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ถือได้ว่าเป็นจุดประสงค์ เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีกับชาวจีน กวางตุ้งทุกภาค ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น สมกับคำที่ว่า“ มิตรภาพพี่น้องชาวกวางตุ้ง สร้างสรรค์ประวัติการณ์ยุคใหม่”ตามที่บันทึก สมาคมกว๋องสิว ฉลองวันครบรอบ 70 ปี 80 ปี 100 ปี และ 110 ปี สมาคมชาวจีนทุกภาคได้จัดคณะมาร่วมงานกันอย่าง เนืองแน่น ยิ่งในงานฉลองครบรอบ 120 ปี จัดที่หอประชุม 100 ปี โรงเรียนกว่างเจ้า ชาวจีนกวางตุ้งทั่วโลกส่งผู้แทนมาร่วมงานกันอย่างคับคั่งวันที่ 15-16 ธันวาคม 2001 ภายใต้การนำของนายหงชาด เอื้อจงประสิทธิ์ นายกสมาคมฯ และคณะกรรมการได้ร่วมกันจัดงาน“สัมพันธไมตรีชาวกว๋องสิวทั่วประเทศไทย ครั้งที่ 1” ที่กรุงเทพฯ ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การจัดงานครั้งนี้ จุดประ สงค์เพื่อร่วมสร้างความสัมพันธไมตรีกับชาวจีนกวางตุ้งทุกภาค เพื่อวางรากฐานที่ดีต่อการขยายกิจการสมาคมฯ ในภายหน้าและเป็น การจารึกประวัติศาสตร์ใหม่ สำหรับสมาคมกว๋องสิว แห่งประเทศไทย |
|